วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันปีใหม่2011

สวัสดีสุขสันต์วันปีใหม่

พร “สมเด็จพระเทพฯ” สวัสดีปีมะโรง 2555

โพสต์เมื่อวันที่ 30 November 2011 โดย คุณ Newyear2011
พระราชทานพร "สวัสดีปีมะโรง 2555"
พระราชทานพร "สวัสดีปีมะโรง 2555"
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเปิดร้าน ภูฟ้า สาขาเพียวเพลส รามคำแหง 110 ซึ่งเป็นสาขาที่ 16 เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชาวบ้านในโครงการส่งเสริม อาชีพตามพระราชดำริ ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากฝีมือเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ณ ศูนย์การค้าเพียวเพลส รามคำแหง 110
ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตัดแถบแพรเปิดร้านภูฟ้า สาขาเพียวเพลส ซอยรามคำแหง 110 จากนั้นเสด็จฯ ยังภายในร้านภูฟ้า ทรงลงพระนามาภิไธยบนภาพวาดฝีพระหัตถ์ “สุขสมบูรณ์ สวัสดีปีมะโรง” เป็นภาพ “พญานาคและแมงป่อง” ที่พระราชทานแก่ร้านภูฟ้า ประกอบลายพระหัตถ์โคลงโลกนิติว่า “นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้างฤทธี” เป็นสุภาษิตเก่าแก่ที่บรรพบุรุษไทยนำมาเป็นคำสอนในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงาม ในบทที่ว่าด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนของพญานาคราช ทั้งๆ ที่มีฤทธิ์ปานพระอาทิตย์ ผิดกับแมงป่องซึ่งมักโอ้อวดว่าตัวมีฤทธิ์เดชมากมายทั้งที่มีพิษเพียงน้อยนิด
พร้อมกันนี้ พระราชทานพร “สวัสดีปีมะโรง 2555″ ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “ปีมะโรงคือพญานาคราช ทรงอำนาจกว่าใครในแหล่งหล้า จะอ่อนน้อมไม่แสดงซึ่งฤทธา เลื้อยช้าช้าสง่างามตามครรลอง โบราณว่าพญานาคท่านให้น้ำ เพื่อช่วยบำรุงพืชสัตว์ทั้งผอง น้ำอย่ามากอย่าน้อยไปพอเนืองนอง ให้ตกต้องฤดูกาลสำราญเอย” อวยพรให้ทุกคนมีความสุขสวัสดี ตลอดปีมะโรง 2555 ซึ่งเป็นปีแห่งพญานาคราช สัญลักษณ์สำคัญของน้ำซึ่งผูกพันกับวิถีชีวิตไทยตลอดมา คนไทยถือพญานาคมีอำนาจยิ่งใหญ่ เป็นผู้ดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลอย่างพอเพียงและพอเหมาะ สร้างความสุขความอุดมสมบูรณ์ มอบให้ชาวไทยทุกคน ในปีมะโรง 2555 นี้
ร้านภูฟ้าได้อัญเชิญภาพวาดฝีพระหัตถ์มาจัดทำเป็นคอลเล็กชั่น “สุขสมบูรณ์ สวัสดีปีมะโรง” ประกอบด้วยเสื้อยืดโปโล 5 สี คือ สีชมพู สีเขียว สีฟ้า สีเหลืองและสีอิฐ เสื้อยืดทีเชิ้ต สีน้ำเงิน สีขาว เสื้อแจ๊กเกต สีน้ำเงินและสีเทา บัตรอวยพรปีใหม่ แก้วกาแฟ เหยือกน้ำ กระติกน้ำ สมุดบันทึก สมุดฉีก ปากกา นาฬิกาแขวน นาฬิกาพก ผ้าขนหนู ร่ม และอื่นๆ
ภายในร้านภูฟ้า นอกจากสินค้าคอลเล็กชั่นต่างๆ ของทางร้าน ยังมีมุมสำหรับอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้าน อาทิ ถุงมือยาง ถุงดำ แปรงขัดพื้น ไม้กวาดทางมะพร้าว และคู่มือการล้างบ้านหลังน้ำท่วม การนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยเครื่องมือทำความสะอาด และวิธีล้างบ้านหลังน้ำลด ตรัสว่า “มีประโยชน์ต่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นอย่างมาก”
ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานร้าน ภูฟ้า กล่าวว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาร้านภูฟ้าได้รับซื้อสินค้าจากชาวบ้านในโครงการซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 100 กลุ่ม จำนวนสมาชิกทั้งหมด 2,500 คน โดยผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านประกอบด้วยผ้าปกากะญอ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าห่มทอมือ ผลิตภัณฑ์ผ้าอื่นๆ เครื่องจัก สานจากวัสดุธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว เครื่องดื่ม ชาสมุนไพร กาแฟ ชาอู่หลง แชมพู ครีมนวด อาหารต่างๆ เครื่องเงิน นอกจากนี้ร้านยังมีสินค้าจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และมุมกาแฟ ทั้งนี้เพื่อให้ร้านภูฟ้าสามารถสนับสนุนชาวบ้าน เด็กและเยาวชนได้เพิ่มขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์แก่ร้านภูฟ้าเพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ศ.คุณหญิงสุชาดากล่าวด้วยว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นห่วงประชาชนที่อยู่ในศูนย์พักพิง ทรงมีพระราชดำริให้รวมกลุ่มกันผลิตสินค้าเพื่อคลายความทุกข์และสร้างรายได้เสริม โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ส่งวิทยากรมาฝึกอบรมแก่ผู้พักพิง โดยมีผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ ได้แก่ ตุ๊กตาการบูรหอม พวงกุญแจโครเชต์ ดอกไม้จันทน์ ไม้ถูพื้นจากเศษผ้า น้ำยาทำความสะอาด และน้ำยาล้างจาน ผลไม้แช่อิ่มต่างๆ โดยพระราชทานพระราชานุญาตให้ส่งมาจำหน่ายที่ร้านภูฟ้า
ด้าน นางเกตุวลี นภาศัพท์ คณะกรรมการร้านภูฟ้า เปิดเผยว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยและห่วงใยประชาชนที่ประสบอุทกภัยตลอดเวลา ทรงคิดในรายละเอียด ทรงมีพระราชดำริให้ประชาชนได้ทำเรื่องง่ายๆ และนำไปใช้ได้จริง วันนี้ตรัสถึงเรื่องความสะอาดของบ้านประชาชนที่ประสบอุทกภัยว่า “คนต้องซ่อมบ้าน ต้องทำความสะอาดบ้าน” ทรงโปรดให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สอนผู้ประสบภัยทำไม้กวาด น้ำยาล้างพื้นด้วยตนเอง
สำหรับผู้ที่อยากให้กำลังใจผู้ประสบภัย และช่วยให้มีรายได้เสริม แวะชมและอุดหนุน ผลิต ภัณฑ์ได้ที่ร้านภูฟ้า 4 สาขา ได้แก่ ร้านภูฟ้าผสม ผสาน ชั้น 4 สยามพารากอน ร้านภูฟ้าสาขาสยามดิสคัฟเวอรี่ ร้านภูฟ้าสาขาจัตุรัสจามจุรี และร้าน ภูฟ้าสาขาโรงพยาบาลรามาธิบดี รายได้จากการจำหน่ายมอบให้ผู้ประสบภัยที่ศูนย์พักพิงทั้งหมด ไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ด้านกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาคมภาพถ่ายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดนิทรรศการภาพถ่ายภายใต้หัวข้อ “น้ำ+ใจ 2554″ เพื่อรวบรวมภาพเหตุการณ์มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย
นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า นิทรรศการครั้งนี้กระทรวงวัฒนธรรมได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ภาพวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งทรงถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เมื่อเวลา 15.52 น. วันที่ 14 ต.ค. 2554 เพื่อนำมาจัดแสดงในนิทรรศการ ที่ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 8 – 30 ธ.ค.
และระหว่างวันที่ 11-15 ธ.ค. ที่อาคารศูนย์การท่องเที่ยวอยุธยา ศาลากลางหลังเก่า จ.พระ นครศรีอยุธยา และสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดในปี 2555 อีก 4 แห่ง รวมถึงนำภาพแสดงบนเว็บไซต์ www.bigcamera.co.th/ Water+Empathy2011 โดยสำนักหอจดหมาย เหตุแห่งชาติจะนำภาพดังกล่าวบันทึกเป็น “จดหมายเหตุประวัติศาสตร์” ของชาติต่อไป ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ทรงเปิดนิทรรศการในวันที่ 8 ธ.ค.นี้
HAPPY NEW YEAR

เพลงพรปีใหม่ เนื้อเพลงพรปีใหม่และฟังเพลงพรปีใหม่

เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากอัลบั้ม เอช เอ็ม บลูส์ ส่งความสุขในเทศกาลปีใหม่



เนื้อเพลง เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ
เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13
ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร
และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์
ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรง
พระราชนิพนธ์เพลง “พรปีใหม่” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้อง
เป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ
วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง
ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495

 

 
วันเวลาผ่านไปไวยิ่งนัก

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันรัฐธรรมนูญ

ประวัติและความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญความหมาย

รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ


วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

ความเป็นมา

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
๑. พระมหากษัตริย์

๒. สภาผู้แทนราษฎร

๓. คณะกรรมการราษฎร

๔. ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ้

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ




 

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก parliament.go.th
          วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี
 ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
 ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
 สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  

          
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย  

          
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  

          
อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  

         
รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

           จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ 

          
พระมหากษัตริย์ 
           
          
สภาผู้แทนราษฎร 
           
           
คณะกรรมการราษฎร 
           
           
ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้

 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ          รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้            1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)

          
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
 
          
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  
          
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
  
          
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

          
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

          
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)

          
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

          
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
 
          
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

          
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
  
          
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
 
          
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
 
          
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
 
          
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
  
          
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
 
          
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
  
          
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน)




 วันรัฐธรรมนูญ

          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้

          รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ


 กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ           มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน             มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)

           รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
           โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอ           อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น           ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

           
คำปรารภ
  
          
หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
  
          
หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
  
           
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
  
          
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
  
           
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
  
           
หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
  
           
หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
  
           
หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
  
          
หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
  
           
หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
  
           
หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
 
           
หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)
  
           
หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
  
           
หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)

           
หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
  
           
บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)

วันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ

ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ 2554
วันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติ 2554

วันพ่อแห่งชาติ

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้
     พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
         
     - บิดา (พ่อ)
     - ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
     - สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
     วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย
      วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”
วันพ่อแห่งชาติ 2554 
พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง 
     ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้
     “...บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นร่มเย็นปกติสุขมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติและต่างร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่โดยนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุด ท่านทั้งหลายในสมาคมนี้ ตลอดจนคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงควรทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนไว้ให้กระจ่างและนำไปปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความมีสติ…”
      (พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง) 

กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้

      1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน

      2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

     3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ 

      วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ


ทุกบุปผา มาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
พระ คือ บิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร
ลุ 5 ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิศร
พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน 
    ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
วันพ่อแห่งชาติหรือวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

5 ธันวาวันพ่อแห่งชาติ 

      5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและยังเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อแห่งชาติ อีกทั้งทรงเป็นพ่อตัวอย่างของปวงชนชาวไทย ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ
1.       เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.       เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3.       เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
4.       เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน  

ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ
     วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และ กำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติมีดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ประจำ
ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ
     “พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว
     คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เ
บทบาทของพ่อ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ
1.       กันลูกออกจากความชั่ว
2.       ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี
3.       ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน
4.       ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี
5.       มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร
วันพ่อแห่งชาติของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป
วันพ่อแห่งชาตินั้นทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี
     ในส่วนของพ่อเองก็ต้องตั้งใจฝึกตนเองให้ดี ให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกให้ได้  หาเวลามาทำกิจกรรมร่วมกัน จะได้มีเวลาแนะนำอบรมสั่งสอนกันเพื่อครอบครัวจะได้ เป็นครอบครัวอบอุ่น โดยในวันพ่อที่จะถึงนี้ ก็ขออวยพรให้คุณพ่อทุกท่านมีความสุข ดูแลลูกๆ และอยู่กับลูกๆ ไปตราบนานเท่านาน

วันลอยกระทง

ึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันลอยกระทง






          ใกล้ถึงเทศกาลวันลอยกระทง 2554 กันแล้ว ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน …เชื่อว่าหลายคนคงเตรียมตัวควงหวานใจ หรือพาครอบครัวไปลอยกระทงร่วมกันที่ใดที่หนึ่งแล้ว อ๊ะ ๆ ...แต่ก่อนที่จะไปลอยกระทงกันนั้น เรามาทำความรู้จักประเพณีลอยกระทงให้ถ่องแท้กันก่อนดีกว่าค่ะ จะได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของประเพณีอย่างแท้จริง
กำหนดวันลอยกระทง

          วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง



          ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

          ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
          ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า

          "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."

          เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

          ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย

เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง
          สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่ 

          1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด

          2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท

          3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

          4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้ 

          5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

          6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน

          7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย

ประเพณีลอยกระทงในแต่ละภาค

          ลักษณะการจัดงานลอยกระทงของแต่ละจังหวัด และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันคือ






           ภาคเหนือ (ตอนบน) จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า "ยี่เป็ง" อันหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่  (เดือนยี่ถ้านับตามล้านนาจะตรงกับเดือนสิบสองในแบบไทย) โดยชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์โคมลอย หรือที่เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า

           จังหวัดตาก จะประดิษฐ์กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย" 

           จังหวัดสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องประเพณีลอยกระทง ด้วยความเป็นจังหวัดต้นกำเนิดของประเพณีนี้ โดยการจัดงาน ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ที่จังหวัดสุโขทัยถูกฟื้นฟูกลับมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2520 ซึ่งจำลองบรรยากาศงานมาจากงานลอยกระทงสมัยกรุงสุโขทัย และหลังจากนั้นก็มีการจัดงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟขึ้นที่จังหวัดสุโขทัยทุก ๆ ปี มีทั้งการจัดขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล และไฟพะเนียง

           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ทุกปีในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟอย่างสวยงาม และตอนกลางคืนจะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหลไปตามลำน้ำโขง

           กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทงหลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ "งานภูเขาทอง" ที่จะเนรมิตงานวัดเพื่อเฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง

           ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี


กิจกรรมในวันลอยกระทง
          ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ แต่กิจกรรมที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ การประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง หรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม ภายหลังมีการใช้วัสดุโฟมที่สามารถประดิษฐ์กระทงได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะมีการดัดแปลงวัสดุทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ กระทงพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

          เมื่อไปถึงสถานที่ลอยกระทง ก่อนทำการลอยก็จะอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนาขอให้ประสบความสำเร็จ หรือเสี่ยงทายในสิ่งต่าง ๆ จากนั้นจึงปล่อยกระทงให้ลอยไปตามสายน้ำ และในกระทงมักนิยมใส่เงินลงไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคา

          นอกจากการลอยกระทงแล้ว มักมีกิจกรรมประกวดนางนพมาศอันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเพณีลอยกระทง และตามสถานที่จัดงานจะมีการประกวดกระทง ขบวนแห่ มหรสพสมโภชต่าง ๆ บางแห่งอาจมีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองด้วย เพลงประจำเทศกาลลอยกระทง
          เมื่อเราได้ยินเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ขึ้นต้นว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง..." นั่นเป็นสัญญาณว่าใกล้จะถึงวันลอยกระทงแล้ว ซึ่งเพลงนี้เป็นที่คุ้นหูของทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เพราะในต่างประเทศมักเปิดเพลงนี้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อแสดงถึงความเป็นประเทศไทย

          เพลงรำวงวันลอยกระทงแต่งโดยครูแก้ว อัจฉริยกุล ผู้ให้ทำนองคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งสุนทราภรณ์ ซึ่งครูเอื้อได้แต่งเพลงนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2498 ขณะที่ได้ไปบรรเลงเพลงที่บริเวณคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผู้ขอเพลงจากครูเอื้อ ครูเอื้อจึงนั่งแต่งเพลงนี้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงจึงเกิดเป็นเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ติดหูกันมาทุกวันนี้ มีเนื้อร้องว่า

          วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง 
          เราทั้งหลายชายหญิง 
          สนุกกันจริง วันลอยกระทง 
          ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง 
          ลอยกระทงกันแล้ว 
          ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง 
          รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง 
          บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ