วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

วันเทศกาลตรุษจีน

วันตรุษจีน เทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีนเป็นวันขึ้นปีใหม่

  ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่า วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป สำหรับปี 2555 นี้ วันตรุษจีนตรงกับวันที่ 23 มกราคม
          สำหรับที่มาของ วันตรุษจีน นั้น เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย นั่นคือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า "ซุ่ย" ซึ่งมีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ จนกระทั่งต่อมาในยุค 1000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า "เหนียน" หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์นั่นเอง
          นอกจากนี้ วันตรุษจีน ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันชุงเจ๋" ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง

         
ส่วนการกำหนด วันตรุษจีน นั้น ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน และถือว่าคืนวันที่ 30 เดือน 12 เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ส่วนวันที่ 1 เดือน 1 คือวันชิวอิก หมายถึงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ
          การเตรียมงานเพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อน วันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) โดยผู้คนจะเริ่มซื้อข้าวของต่างๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และเตรียมทำความสะอาดครั้งใหญ่ ตั้งแต่ชั้นบนลงชั้นล่าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป ภายในบ้านทั้งประตู หน้าต่าง จะประดับประดาไปด้วยสีแดง และกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้อายุยืน ร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯ

          จากนั้นครอบครัวจะร่วมรับประทานอาหารที่ล้วนแต่มีความหมายมงคลทั้งสิ้น เช่น กุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งความโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาหร่าย จะนำความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร หลังจากทานอาหารค่ำแล้ว ทุกคนในครอบครัวจะนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับ วันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง

          นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของ วันตรุษจีน คือ "อั่งเปา" ซึ่งมีความหมายว่า "กระเป๋าแดง" หรือจะใช้คำว่า "แต๊ะเอีย" ซึ่งมีความหมายว่า "ผูกเอว" จากที่คนสมัยก่อนชอบร้อยเงินเป็นพวงผูกไว้ที่เอว โดยการให้อั่งเปานี้ คู่แต่งงานจะให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว จะออกมาจากบ้านเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ในหมู่ญาติ



"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้

ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ"
 
 
ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย
ความรู้เกี่ยวกับ "วันตรุษจีน"
      นับเป็นประเพณีนิยม ในวันตรุษจีน ที่เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชนชาติจีนแผ่นดินใหญ่และพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน    นั่นแสดงว่าเป็นสัญญาณอันดีที่จะมีงานรื่นเริง การสวมใสเสื้อสีแดงสด อันเป็นสีที่เป็นศิริมงคลของพี่น้องชาวจีน อาจจะบอกดว่าเป็นวันครอบครัว ที่จะได้พบปะสังสรรค์ กินเลี้ยงอย่างมีความสุข ...อันเป็นวันที่เปี่ยมไปด้วยการให้ทาน การทำบุญทำกุศล  หรือแม้กระทั่งที่วัดจีนประชาสโมสร  ก็มีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ทำทานในวันขึ้นปีใหม่  นำมาซึ่งความปิติ-มีความสุขเปี่ยมล้น  มีผลทำให้มีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต ทำงาน-ค้าขายให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป...
เทศกาลจีนมีอยู่มากมาย ตรุษจีนเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน ในปีนี้ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ทุกคนต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่างหยุดงาน โรงเรียนสถาบันการศึกษาต่างปิดเทอมในช่วงนี้ เป็นปิดเรียนฤดูหนาว ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่ไม่สามารถหยุดงานได้ หน่วยงานห้างร้านต่างก็หยุดงาน 3-4 วัน เมื่อใกล้วันปีใหม่จีน ผู้คนต่างก็มีการตระเตรียมงานปีใหม่ ภายในครอบครัว ทุกบ้านก็จะทำความสะอาดบ้านเรือน ผ่านปีใหม่อย่างสะอาดสะอ้านสดใส ร้านค้าห้างสรรพสินค้าต่างก็เติมไปด้วยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้แก่เด็กๆ ซื้อของขวัญให้แก่ญาติสนิทมิตรสหาย ซื้อบัตรอวยพร ในตลาดก็คราคร่ำไปด้วยผู้คน ต่างเดินไปเดินมากันขวักไขว่ ซื้อปลาบ้าง ซื้อเนื้อสัตว์บ้าง ซื้อเป็ดไก่บ้าง ทุกคนต่างดูแจ่มใสมีความสุข ช่วงเทศกาลปีใหม่ เด็กๆต่างมีความสุขมาก ต่างสวมเสื้อใหม่ ทานลูกกวาดขนมหวาน เล่นพลุประทัดอย่างรื่นเริง
          คืนก่อนวันปีใหม่ คือวันสุดท้ายของปีนั่นเองเป็นคืนที่ครึกครื้นที่สุด ใครที่ไปทำงานห่างจากบ้านเกิด ต่างก็พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะกลับมาฉลองวันปีใหม่ที่บ้าน ตอนกินอาหารมื้อค่ำคืนก่อนขึ้นปีใหม่จีน ทุกคนในครอบครัวต่างนั่งกันพร้อมหน้าล้อมโต๊ะอาหาร ต่างชนแก้วอวยพรปีใหม่กัน ทานมื้อค่ำเรียบร้อยแล้ว บางคนก็ดูทีวี บางคนก็ฟังเพลง บางคนก็นั่งคุยกัน บางคนก็เล่นหยอกล้อกับเด็กๆ บ้านเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ พอถึงเที่ยงคืน คนจีนทางเหนือก็จะเริ่มทำเกี๊ยว (เจี้ยวจึ) คนจีนทางใต้ ก็จะปั้นลูกอี๋ทำน้ำเชื่อม ทำไป ชิมไปทานไป ครึกครื้นอย่างยิ่ง เช้าวันรุ่งขึ้นแต่เช้า ทุกคนจะตื่นแต่เช้า เยี่ยมเพื่อนบ้าน เพื่อนฝูงอวยพรปีใหม่
ประวัติวันตรุษจีน หรือปีใหม่จีน
          ประวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นในปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้ว กับการฉลองวันปีใหม่จีนหรือที่เรารู้จักกันว่า ตรุษจีนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ นั้นเอง
          ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น
          วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอยจะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
          เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า
"Let bygones be bygones"
(อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน

อาหารไหว้เจ้า

          ในวันฉลองตรุษจีนอาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันไหนๆในปี อาหารชนิดต่างๆที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่ ถึงแม้ผักชนิดต่างๆที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงรากหรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆมีความหมายที่เป็น มงคลในตัวของมันเม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชายเกาลัด - มีความหมายถึง เงิน สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวยเต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุขหน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่งเป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์          อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดม- สมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวน มากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน
 
ความเชื่อโชคลางในวันตรุษจีน

ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัย และคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่
หากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่ คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน
การแต่งกายและความสะอาด ในวันตรุษจีนเราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วงเทศกาลนี้ สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี
วันตรุษจีนกับความเชื่ออื่น ๆ สำหรับคนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล
บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี
การเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษ ถือเป็นโชคร้ายดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก
ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรในวันตรุษเพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ทุกคนก็ยังคงยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียม และวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็น ครอบครัวและเอกลักษณ์ ของตน

15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน

วันแรกของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์และโลก หลายคนงดทานเนื้อ ในวันนี้ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการต่ออายุและนำมาซึ่งความสุขในชีวิตให้กับตน
วันที่สอง ชาวจีนจะไหว้บรรพชนและเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับสุนัข เลี้ยงดูให้ข้าวอาบ น้ำให้แก่มัน ด้วยเชื่อว่า วันที่สองนี้เป็นวันที่สุนัขเกิดวันที่สามและสี่ เป็นวันของบุตรเขยที่จะต้องทำความเคารพแก่พ่อตาแม่ยายของตนวันที่ห้า เรียกว่า พูวู ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้านเพื่อต้อนรับการมาเยือน ของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ในวันนี้จะไม่มีใครไปเยี่ยมใครเพราะจะถือว่าเป็นการนำโชคร้าย มาแก่ทั้งสองฝ่ายวันที่หก ถึงสิบชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของ ครอบครัว และไปวัดไปวาสวดมนต์เพื่อความร่ำรวยและความสุขวันที่เจ็ด ของตุรุษจีนเป็นวันที่ชาวนานำเอาผลผลิตของตนออกมาชาวนาเหล่านี้จะทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิดเพื่อฉลองวันนี้ วันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิด ของมนุษย์ในวันนี้อาหารจะเป็น หมี่ซั่วกินเพื่อชีวิตที่ยาวนานและปลาดิบเพื่อความสำเร็จวันที่แปด ชาวฟูเจียน จะมีการทานอาหารร่วมกันกับครอบครอบอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกง เทพแห่งสวรรค์วันที่เก้า จะสวดมนต์ไหว้และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้วันที่สิบถึงวันที่สิบสอง เป็นวันของเพื่อนและญาติๆ ซึ่งควรเชื้อเชิญมาทานอาหารเย็น และหลังจากที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วยความมัน วันที่สิบสามถือเป็นวันที่เราควรทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิ ถือเป็นการชำระล้างร่างกายวันที่สิบสี่ ความเป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟซึ่งจะมีขึ้น ในคืนของวันที่สิบห้าแห่งการฉลองตรุษจีน
                         

วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ของจีน (วันที่ 1 เดือน 1 ของวันจีน) ถือเป็นเทศกาลใหญ่ ที่ประหนึ่งรวมเทศกาลวันตรุษ และอาจรวมเทศกาลไหว้สิ้นปี เข้ากับเทศกาลวันตรุษ ซึ่งจะต่างกับวันไทย และวันสากล ในขณะที่วันของไทย เป็นวันข้างขึ้น และข้างแรม เดือนหนึ่งมี 30 วัน ของจีนจะเป็นเดือนสั้น และเดือนยาว เดือนสั้นมี 29 วัน เดือนยาวมี 30 วัน

วันจีนจะช้ากว่าวันข้างขึ้น ข้างแรม ในปฏิทินอยู่ 2 เดือน ยกตัวอย่าง วันไหว้พระจันทร์ ตรงกับวันที่ 15 เดือน 8 เมื่อดูในปฎิทินจะเป็นขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 หรือสมมติว่าวันที่ 31 ธันวาคม 2535 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 2 ก็คิดกลับเป็นวันจีนจะเป็นวันที่ 8 เดือน 12 จากนั้นนับต่อจากวันที่ 8 ไปเป็นวันที่ 9 เดือน 12 ของจีน คือ วันที่ 1 มกราคม 2536 นับไปเรื่อยๆ จนครบวันที่ 30 เดือน 12 ของจีน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2536 ของไทย ดังนั้นวันตรุษจีน คือ วันที่ 1 เดือน 1 ของจีน ก็จะตรงกับวันที่ 23 มกราคม 2536 


  • ไหว้เทพยดาฟ้าดิน เช่นการไหว้วันเกิดเทพยดา ฟ้าดิน เรียกว่า ทีกงแซ หรือ ทีตี่แซ ตรง

  • ไหว้อาเนี๊ยแซ คือไหว้วันเกิดเจ้าแม่กวนอิม ปีหนึ่งมี 3 ครั้ง คือวันที่ 19 เดือน 2 วันที่ 19 เดือน 6 และวันที่ 19 เดือน 9

  • ไหว้แป๊ะกงแซ ตรงกับวันที่ 14 เดือน 3

  • ไหว้เทพยดาผืนดิน คือไหว้โท้วตี่ซิ้ง ตรงกับวันที่ 29 เดือน 3

  • ไหว้อาพั๊ว คือการไหว้วันเกิดอาพั๊ว หรืออาพั๊วแซ ซึ่งอาพั๊ว หมายถึง พ่อซื้อแม่ซื้อผู้คุ้มครองเด็ก ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี

  • ไหว้เจ้าเตา คือไหว้วันที่ 24 เดือน 12 เรียกว่า ไหว้เจ๊าซิ้ง
    ขนมไหว้

    ซาลาเปา (หมี่ก้วย หรือ หมี่เปา)

  • ไม่มีไส้ เรียกว่า หมั่นโถว มีแบบที่ทำจาหัวมัน เนื้อออกสีเหลือง และแบบไม่ผสมมัน เนื้อออกสีขาว นิยมทำให้แตกเหมือนดอกไม้บาน ถ้าลูกเล็กจะแต้มจุดแดง ลูกใหญ่จะปั๊มตัวหนังสือสีแดง เขียนว่า ฮก แปลว่า โชคดี

  • มีไส้ นิยมไส้ เต้าซา แป้งไม่ผสมมัน หน้าไม่แตก มีตัวหนังสือปั๊มว่า เฮง แปลว่าโชคดี


    ซิ่วท้อ เป็นซาลาเปาพิเศษ ทำเป็นรูปลูกท้อ ใส้เต้าซา เพราะถือว่าเป็นผลไม้สวรรค์ ใช้ในงานวันเกิด ใครได้กินอายุจะยืนยาว


    หนึงกอ (ขนมไข่) ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง


    ก๊าก้วย (ฮวกก้วย) "ฮวก" แปลว่า งอกงาม / "ก้วย" แปลว่า ขนม ใช้กับงานมงคลเป็นส่วนใหญ่ เช่นงานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ บนหน้าขนมปั๊มตัวหนังสือตรงกลาง "ฮวดไช้" คำที่อยู่รอบนอก คือ "เฮง" แปลว่า โชคดี


    คักท้อก้วย มีไส้ข้าว ไส้กุยช่าย ไส้ผัดผักกะหล่ำ ไส้ถั่ว นวดกับแป้งผสมสีแดง เป็นสีนำโชค ใช้ไหว้เจ้าที่ หรือไหว้บรรพบุรุษ


    จับกิ้ม (แต่เหลียง) หรือที่คนไทย เรียกว่า "ขนมจันอับ" ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกประเภท ประกอบด้วยขนม 5 อย่าง คือ

  • เต้ายิ้งปัง คือ ขนมถั่วตัด

  • มั่วปัง คือ ขนมงาตัด

  • ซกซา คือ ถั่วเคลือบน้ำตาล

  • กวยแฉะ คือ ฟักเชื่อม

  • โหงวจ๊งปัง คือ ขนมข้าวพอง



    ตั่วเปี้ย คนไทยเรีกว่า "ขนมเปี๊ย"

  • แบบเจ เรียกว่า "เจเปี้ย" มีไส้มังสวิรัติ เช่น ไส้เต้าซา










  • แบบชอ เรียกว่า "ชอเปี้ย" ใส่มันหมู ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกอย่าง

    ทึ้งถะ คือ เจดีย์น้ำตาล ซึ่งต้องมีทึ้งไซ หรือสิงห์น้ำตาล มีไว้เพื่ออารักขาเจดีย์ ใช้ไหว้เทพยดาฟ้าดิน ในวันที่ 9 เดือน 1 ของทุกปีและสามรถใช้ไหว้เจ้าแม่กวนอิมในวันไหว้พระจันทร์ได้


    โหงวก้วย-โหงวอั้ง หรือขนมลูกหลาน ใช้ไหว้คนตายในงานศพเท่านั้น ทำจากแป้งข้าวเจ้า ทั้งแบบเกลี้ยง และแบบแต่งถั่วดำ กินไม่อร่อย แต่ใช้ในการทำพิธี


    น้ำตาล นำน้ำตาลมาใส่ถุง ติดกระดาษแดง สามารถใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง


    กระดาษเงินกระดาษทอง
    คนจีนเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะไปยังอีกภพโลกหนึ่ง เรียกว่า "อิมกัง" ดังนั้นลูกหลานจึงต้องส่งเงินทองไปให้ เพื่อแสดงความกตัญญู ด้วยการไหว้เจ้า แล้วเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ และการไหว้เจ้ายังเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลาน ให้มีความสุขความเจริญ ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองบางแบบใช้ไหว้เจ้า บางแบบใช้ไหว้บรรพบุรุษ


    กอจี๊ หรือ จี๊จุ้ย เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้นใหญ่ มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสือว่า "เผ่งอัน" เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดดีใช้สำหรับไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน


    กิมจั้ว หรือ งึ้งจั๊ว หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาจะไหว้จะทำเป็นชุด ก่อนไหว้ลูกหลานจ้องนำมาพับเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง


    กิมเต้า หรือ งึ้งเต้า หรือถังเงินถังทอง ใช้ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน


    กิมเตี๊ยว คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้คนตาย


    ค้อซี คือ กระดาษทอง ก่อนใช้ให้พับเป็นรูปร่างก่อน เช่น พับเป็นเรือ เรียกว่า "เคี้ยวเท่าซี" เชื่อกันว่าการพับเรือ จะไก้มูลค่าสูงกว่าการพับอย่างอื่นใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งไหว้คนตาย โดยเฉพาะพิธีทำกงเต๊ก ลูกหลานต้องพับค้อซี ให้มากที่สุด


    อิมกังจัวยี่ คือแบงก์กงเต็กนั่นเอง


    อ่วงแซจิ่ว ใช้เผาเป็นใบเบิกทาง ไปสวรรค์สำหรับผู้ตาย


    เพ้า คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ


    ตั้วกิม
    เป็นกระดาษเงินกระดาษทองที่ญาติสนิทนำไปไหว้ผู้ตายการเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก


    เพื่อให้ทุกคนได้เส้นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ "เหี่ยม" หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผา เมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลา เป็นการเสร็จพิธี



    ผลไม้ไหว้เจ้า
    ส้ม คำจีนเรียกว่า "ไต้กิก" แปลว่า โชคดี
    สับประรด คำจีนเรียกว่า "อั้งไล้" แปลว่า มีโชคมาหา
    กล้วย คำจีนเรียกว่า "เกงเจีย" มีความหมายถึงการมีลูกหลานสืบสกุล 


  •         


  • วันกองทัพไทย


    ภาพ "สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยุทธหัตถี"
     
     ความเป็นมาของวันกองทัพไทย
    ในสมัยอดีตประเทศไทยเป็นประเทศที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเป็นอย่างมากเนื่องจาก พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตทรงเป็นผู้นำทัพเพื่อต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติไทยมานานหลายสมัย จนกระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระเนรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่เป็นศูนย์รวมจิตใจ กำลังใจและความภาคภูมิใจในการต่อสู้เพื่อเอกราชเพื่อประเทศไทยโดยเฉพาะเหตุการณ์ในครั้งที่พระองค์ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่พระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี เมื่อวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ณ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะที่สำคัญของไทยเลยก็ว่าได้เพราะพระองค์ทรงกล้าหาญ มีไหวพริบในการทำศึกจนเป็นที่กล่าวขานแก่คนในชาติและประเทศที่อยู่ใกล้เคียง

    เมื่อครั้งที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ.2523 ได้มีมติร่วมกับคณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปีโดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2524 เป็นวัน กองทัพไทยซึ่งตรงกับวันกระทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเศวรมหาราช เพื่อเป็นวันที่รำลึกถึงความภาคภูมิใจในความกล้าหาญของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตที่ทรงเสียสละชีวิตและเลือดเนื้อเพื่อกอบกู้เอกราชชาติไทย

    ต่อมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีได้ลงอนุมัติให้วันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันยุทธหัตถี และเป็นวันรัฐพิธีแทนวันที่ 25 มกราคม ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักฐานที่ราชบัณฑิตยสถานและคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ ดังนั้นคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2549 เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอโดยให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีและอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมเริ่มใช้ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2550 เป็นต้นไป

    ปัจจุบัน (รัชการที่ ๘ – ๙) กองทัพไทยได้พัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก ประกอบด้วยกำลังครบทั้งสามเหล่า คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ การพัฒนาด้านต่างๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนมีศักยภาพสูง และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก

    ภาพ "ทหารบก" 

      ภาพ  "ทหารเรือ"

    ภาพ "ทหารอากาศ" บทบาทกองทัพไทย
    การป้องกันประเทศ
    กองทัพไทยมีหน้าที่สำคัญคือการป้องกันประเทศทั้งในยามสงบและยามที่เกิดภัย โดยจัดให้มีการฝึกกำลังรบอยู่เป็นประจำ ป้องกันภัยทั้งในประเทศและนอกประเทศ รักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีความสงบไม่เกิดปัญหาซึ่งกันและกัน จัดกำลังป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย อบรมราษฎรในพื้นที่เพื่อสามารถป้องกันตนเองได้

    ส่งเสริมการปกครอง
    กองทัพไทยมีความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนชาวไทยรักชาติ รักษาความมั่นคงความสงบสุขของสังคม โดยช่วยกันสอดส่องดูแล ให้ความรู้เรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย ข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน ทั้งนี้กองทัพไทยยังป้องกันตามชายแดนเพื่อแก้ปัญหาการลำเลียงยาเสพติดที่เป็นภัยต่อประเทศชาติอีกด้วย


    ภาพ "ทหารรักษาพระองค์"
    การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
    สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สูงสุดและสำคัญสำหรับประชาชนทั้งนี้ยังเป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งแก่เหล่าทหารเพราะพระมหากษัตริย์ทรงเป็นมิ่งขวัญแก่เหล่าทหารเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯ กองทัพไทยจึงมีส่วนสำคัญในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยในโอกาสวันเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาของทุกปี กองบัญชาการทหารสูดสุดได้จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน ณ สวนสนามทหารรักษาพระองค์

    การรักษาผลประโยชน์ของคนในชาติ
    กองทัพไทยมีบทบาทสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทั้งทางบกและทางทะเล ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการประมง พื้นที่ทำมาหากิน บรรเทาสาธารณภัยเมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย แก้ปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่นการเกิดภัยแล้งก็ปฏิบัติการฝนหลวงตามโครงการพระราชดำริ

    ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
    สอดส่องดูแล รักษา ปกป้อง ทรัพยากรทางธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลาย พร้อมทั้งส่งเสริมจัดกิจกรรมต่างขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีสำนึกที่ดี ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไว้ ทั้งนี้กองทัพยังมีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญโดยพัฒนาทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย
    กองทัพไทยในปัจจุบัน
    กองทัพไทยได้กำหนดนโยบายเพื่อความมั่นคงแห่งชาติไว้ ดังนี้

    ๑. เพื่อป้องปราม ป้องกันและต่อสู้เอาชนะภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ
    ๒. เพื่อรักษาความมั่นคงภายในประเทศและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประชุม
    ๓. เพื่อป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบภายในประเทศ
    ๔. เพื่อสนับสนุนและร่วมในการพัฒนาประเทศ การช่วยเหลือประชาชน และการบรรเทาสาธารณภัย
    ๕. เพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติ
    ๖. เพื่อร่วมมือกับมิตรประเทศตามนโยบายของรัฐบาลในการรักษาสันติภาพและการป้องกันร่วมกัน

    กิจกรรมในวันกองทัพไทย
    ในวันนี้เหล่ากองทัพได้ทำกิจกรรมคือ พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล หรือที่นิยมเรียกว่า "สวนสนามสาบานธง" ซึ่งเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์สำหรับทหารทุกคน และเพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมและเป็นการสักการะดวงวิญญาณนักรบไทย จะมีพิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ทางทหาร เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์ทหารอาสา อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ฯลฯ

    วันเด็กแห่งชาติ

     ความหมายของเด็ก

    ภาพ:ChildrendDay_4.jpg
             ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์

     ประวัติความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาติ

    ภาพ:ChildrendDay_3.jpg

              วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
              งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
              รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
              งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้

    กิจกรรมวันเด็ก

    ภาพ:ChildrendDay_2.jpg

              กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ
              - ให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง
              - เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
              เด็ก คือ ทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และมั่นคงอีกทั้งเป็นผู้ที่จะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลสังคมตลอดจนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลง และอื่น ๆ ฯลฯ
              ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความสำคัญแก่เด็ก และจัดให้มีวันเด็กขึ้นทุกปี เพื่อให้เด็กรู้ถึงความสำคัญของตนเอง จะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่มีความสำคัญของประเทศชาติ ด้วยการตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ

    เพลงสำหรับเด็ก

    ภาพ:ChildrendDay_1.jpg

    เพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี

              เพลง หน้าที่ของเด็ก หรือเรียกกันติดปากว่าเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มักเปิดในช่วงวันเด็กแห่งชาติ


              เนื้อเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี

              เด็กเอ๋ยเด็กดี
              ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
              เด็กเอ๋ยเด็กดี
              ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
              หนึ่ง นับถือศาสนา
              สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
              สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
              สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
              ห้า ยึดมั่นกตัญญู
              หก เป็นผู้รู้รักการงาน
              เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ
              ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
              แปด รู้จักออมประหยัด
              เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
              น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ
              ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
              สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์
              รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา
              เด็กสมัยชาติพัฒนา
              จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

    คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ จากนายกรัฐมนตรี

            ในปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรีในสมัยต่อๆ มา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้
    • พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
    • พ.ศ. 2503 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
    • พ.ศ. 2504 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
    • พ.ศ. 2505 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
    • พ.ศ. 2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
    • พ.ศ. 2507 งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
    • พ.ศ. 2508 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
    • พ.ศ. 2509 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
    • พ.ศ. 2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
    • พ.ศ. 2511 จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
    • พ.ศ. 2512 จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
    • พ.ศ. 2513 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
    • พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
    • พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
    • พ.ศ. 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
    • พ.ศ. 2517 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง
    • พ.ศ. 2518 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
    • พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
    • พ.ศ. 2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
    • พ.ศ. 2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
    • พ.ศ. 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
    • พ.ศ. 2523 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
    • พ.ศ. 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
    • พ.ศ. 2525 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
    • พ.ศ. 2526 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
    • พ.ศ. 2527 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
    • พ.ศ. 2528 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
    • พ.ศ. 2529 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    • พ.ศ. 2530 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    • พ.ศ. 2531 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    • พ.ศ. 2532 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    • พ.ศ. 2533 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    • พ.ศ. 2534 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
    • พ.ศ. 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
    • พ.ศ. 2536 นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
    • พ.ศ. 2537 นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
    • พ.ศ. 2538 นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
    • พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
    • พ.ศ. 2540 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
    • พ.ศ. 2541 นายชวน หลีกภัย - ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
    • พ.ศ. 2542 นายชวน หลีกภัย - ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
    • พ.ศ. 2543 นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
    • พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
    • พ.ศ. 2545 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
    • พ.ศ. 2546 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
    • พ.ศ. 2547 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
    • พ.ศ. 2548 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
    • พ.ศ. 2549 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
    • พ.ศ. 2550 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
    • พ.ศ. 2551 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม

    วันกาชาดไทย

            เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2402 ได้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังทหารของฝรั่งเศสร่วมกับอิตาลี กับกองกำลังทหารของออสเตรีย ณ บริเวณใกล้ๆ หมู่บ้านของซอลเฟริโน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี มีทหารที่บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดคนช่วยเหลือพยาบาล


    ความเป็นมา

            จากเหตุการณณ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2402 ที่มีการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังทหารของฝรั่งเศสร่วมกับอิตาลี กับกองกำลังทหารของออสเตรีย ซึ่งมีทหารที่บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะขาดแคลนแพทย์และพยาบาล ญัง อังรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) นายธนาคารชาวสวิสได้ประสบพบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจเหล่านั้น จึงได้รวบรวมบรรดาหมอชาวออสเตรียและกลุ่มนักเรียนแพทย์อิตาเลียนมาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่เลือกว่าเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู
            เมื่อเขาเดินทางกลับถึงกรุงเจนีวา ก็ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง บรรยาถึงเหตุการณ์ที่ได้ประสบพบเห็น และเสนอแนะว่า ควรจะมีการตระเตรียมอุปกรณ์ และเครื่องไม้เครื่องมือในการพยาบาลให้พร้อมในยามสงบ เมื่อมีสงครามเกิดขึ้นจะได้ช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บทุกฝ่ายได้ทันท่วงที และขอให้ทหารฝ่ายใดผ่ายหนึ่งอย่ายิงคนที่ช่วยบรรเทาทุกข์เหล่านี้ ซึ่งบริการเหล่านี้ยังจะให้ประโยชน์ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฯลฯ อีกด้วย
            จากข้อเสนอแนะดังกล่าว ทำให้เกิดการประชุมระหว่างประเทศขึ้น ณ กรุงเจนีวา โดยมีผู้แทนจาก 16 ประเทศเข้าร่วมประชุม โดยมีข้อสรุปว่า
    • 1. ควรมีสมาคมขึ้นในทุกประเทศ เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์แก่ผู้คนในยามสงคราม
    • 2. ในยามสงคราม ทหารที่บาดเจ็บ ผู้ที่คอยดูแลคนบาดเจ็บ ตลอดจนเครื่องหมายกาชาด (กากบาทสีขาวบนพื้นสีแดง) ปรากฏอยู่ที่ใด จะต้องถือว่าเป็นกลาง ไม่ใช่คู่สงคราม

    ผลจากการประชุม

            ผลการประชุม ก่อให้เกิดสภากาชาดสากลขึ้น ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นกลาง โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ต่อมาในปี พ.ศ.2413 ได้มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศลงนามในอนุสัญญาเจนีวา เพื่อตกลงที่จะยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงของสภากาชาด คือ
    • 1. ดูแลรักษาเยียวยาทหารที่ได้รับบาดเจ็บในยามสงคราม
    • 2. ดูแลเชลยศึกทุกคนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม
    • 3. ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยทุกอย่างและทุกแห่งทั่วโลก
            จากการบุกเบิกของ ญัง อังรี ดูนังต์ ร่วมกับทนายความคนสำคัญ คือ กุสต๊าฟ มัวนิเอร์ ทำให้ขบวนการกาชาดประสบความสำเร็จ และกลายเป็นสภากาชาดสากล มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมกว่า 74 ชาติ โดยสภากาชาดของแต่ละประเทศจะเป็นองค์กรอิสระ สามารถจัดวางแผนงานของตนให้เหมาะสมกับความต้องการของตนเองได้ สภากาชาดสากลจึงกำหนดให้วันที่ 8 พฤษภาคมของทุกปี เป็น "วันกาชาดสากล"

     กิจการกาชาดในประเทศไทย

            ได้เริ่มต้นขึ้นจากการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงขึ้น เมื่อ พ.ศ.2457 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดไทย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ได้ให้การรับรองสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2463 และสันนิบาตสภากาชาดได้รับเข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2464 ในประเทศไทยได้ก่อตั้งสภากาชาดเพื่อช่วยเหลือทหาที่ได้รับบาดเจ็บในกรณีพิพาท ร.ศ.112 เมื่อเหตุการณ์สงบทางราชการให้ทำเป็นองค์การสาธารณกุศลเพื่อทำประโยชน์และบรรเทาทุกข์ภัยของประชาชนต่อไป

    กิจกรรมวันกาชาดสากล

            องค์การกาชาดได้จัดให้มีงานประจำปีทุกปี การจัดงานกาชาดนั้นก็เพื่อเป็นการเผยแพร่หลักการ, การดำเนินงาน, ผลงาน และกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งหาเงินเพื่อมาใช้ในกิจกรรมสาธารณกุศลไว้รับใช้ประชาชนที่เดือดร้อนต่อไป

    วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

    วันครู

    ความหมายของครู

              ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

    ความสำคัญของครู

              ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี

              ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง


    ประวัติความเป็นมา

              วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู

              ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

              พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

              "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

              จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

              คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว

              งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ


    บทสวดเคารพครู

              (สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา

              ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

    (สวดทำนองสรภัญญะ)

              (สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์

              โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์

              ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน

              ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน

              จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน

              เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม

              ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม

              กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ

              คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร

              ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม

              (กราบ)

    การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู
     
              เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู คลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ

    กิจกรรมวันครู

              การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

              1. กิจกรรมทางศาสนา

              2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

              3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

             
              ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ

              รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงาน วันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป

              หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีกล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

              จากนั้นประธานจัดงาน วันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ
    ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู  ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ  ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

     คำปฏิญาณตนของครู

              ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

              ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

              ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

              จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอก และในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม


    มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู           1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

              2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

              3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

              4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู

              5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

              6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ

              7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน

              8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

              9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา

              10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน
    รายชื่อประเทศที่มี วันครู

    ประเทศที่มี วันครู ที่ไม่ใช่วันหยุด

              - อินเดีย วันครูตรงกับวันที่ 5 กันยายน
              - มาเลเซีย วันครูตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
              - ตุรกี วันครูตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน

    ประเทศที่มี วันครู เป็นวันหยุด

              - แอลเบเนีย วันครูตรงกับวันที่ 7 มีนาคม
              - จีน วันครูตรงกับวันที่ 10 กันยายน
              - สาธารณรัฐเช็ก วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
              - อิหร่าน วันครูตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
              - ละตินอเมริกา วันครูตรงกับวันที่ 11 กันยายน
              - โปแลนด์ วันครูตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
              - รัสเซีย วันครูตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
              - สิงคโปร์ วันครูตรงกับวันที่ 1 กันยายน
              - สโลวีเนีย วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
              - เกาหลีใต้ วันครูตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
              - ไต้หวัน วันครูตรงกับวันที่ 28 กันยายน
              - ไทย วันครูตรงกับวันที่ 16 มกราคม
              - สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
              - เวียดนาม วันครูตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน
             



    วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

    วันปีใหม่2011

    สวัสดีสุขสันต์วันปีใหม่

    พร “สมเด็จพระเทพฯ” สวัสดีปีมะโรง 2555

    โพสต์เมื่อวันที่ 30 November 2011 โดย คุณ Newyear2011
    พระราชทานพร "สวัสดีปีมะโรง 2555"
    พระราชทานพร "สวัสดีปีมะโรง 2555"
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเปิดร้าน ภูฟ้า สาขาเพียวเพลส รามคำแหง 110 ซึ่งเป็นสาขาที่ 16 เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชาวบ้านในโครงการส่งเสริม อาชีพตามพระราชดำริ ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากฝีมือเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ณ ศูนย์การค้าเพียวเพลส รามคำแหง 110
    ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตัดแถบแพรเปิดร้านภูฟ้า สาขาเพียวเพลส ซอยรามคำแหง 110 จากนั้นเสด็จฯ ยังภายในร้านภูฟ้า ทรงลงพระนามาภิไธยบนภาพวาดฝีพระหัตถ์ “สุขสมบูรณ์ สวัสดีปีมะโรง” เป็นภาพ “พญานาคและแมงป่อง” ที่พระราชทานแก่ร้านภูฟ้า ประกอบลายพระหัตถ์โคลงโลกนิติว่า “นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้างฤทธี” เป็นสุภาษิตเก่าแก่ที่บรรพบุรุษไทยนำมาเป็นคำสอนในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงาม ในบทที่ว่าด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนของพญานาคราช ทั้งๆ ที่มีฤทธิ์ปานพระอาทิตย์ ผิดกับแมงป่องซึ่งมักโอ้อวดว่าตัวมีฤทธิ์เดชมากมายทั้งที่มีพิษเพียงน้อยนิด
    พร้อมกันนี้ พระราชทานพร “สวัสดีปีมะโรง 2555″ ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “ปีมะโรงคือพญานาคราช ทรงอำนาจกว่าใครในแหล่งหล้า จะอ่อนน้อมไม่แสดงซึ่งฤทธา เลื้อยช้าช้าสง่างามตามครรลอง โบราณว่าพญานาคท่านให้น้ำ เพื่อช่วยบำรุงพืชสัตว์ทั้งผอง น้ำอย่ามากอย่าน้อยไปพอเนืองนอง ให้ตกต้องฤดูกาลสำราญเอย” อวยพรให้ทุกคนมีความสุขสวัสดี ตลอดปีมะโรง 2555 ซึ่งเป็นปีแห่งพญานาคราช สัญลักษณ์สำคัญของน้ำซึ่งผูกพันกับวิถีชีวิตไทยตลอดมา คนไทยถือพญานาคมีอำนาจยิ่งใหญ่ เป็นผู้ดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลอย่างพอเพียงและพอเหมาะ สร้างความสุขความอุดมสมบูรณ์ มอบให้ชาวไทยทุกคน ในปีมะโรง 2555 นี้
    ร้านภูฟ้าได้อัญเชิญภาพวาดฝีพระหัตถ์มาจัดทำเป็นคอลเล็กชั่น “สุขสมบูรณ์ สวัสดีปีมะโรง” ประกอบด้วยเสื้อยืดโปโล 5 สี คือ สีชมพู สีเขียว สีฟ้า สีเหลืองและสีอิฐ เสื้อยืดทีเชิ้ต สีน้ำเงิน สีขาว เสื้อแจ๊กเกต สีน้ำเงินและสีเทา บัตรอวยพรปีใหม่ แก้วกาแฟ เหยือกน้ำ กระติกน้ำ สมุดบันทึก สมุดฉีก ปากกา นาฬิกาแขวน นาฬิกาพก ผ้าขนหนู ร่ม และอื่นๆ
    ภายในร้านภูฟ้า นอกจากสินค้าคอลเล็กชั่นต่างๆ ของทางร้าน ยังมีมุมสำหรับอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้าน อาทิ ถุงมือยาง ถุงดำ แปรงขัดพื้น ไม้กวาดทางมะพร้าว และคู่มือการล้างบ้านหลังน้ำท่วม การนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยเครื่องมือทำความสะอาด และวิธีล้างบ้านหลังน้ำลด ตรัสว่า “มีประโยชน์ต่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นอย่างมาก”
    ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานร้าน ภูฟ้า กล่าวว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาร้านภูฟ้าได้รับซื้อสินค้าจากชาวบ้านในโครงการซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 100 กลุ่ม จำนวนสมาชิกทั้งหมด 2,500 คน โดยผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านประกอบด้วยผ้าปกากะญอ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าห่มทอมือ ผลิตภัณฑ์ผ้าอื่นๆ เครื่องจัก สานจากวัสดุธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว เครื่องดื่ม ชาสมุนไพร กาแฟ ชาอู่หลง แชมพู ครีมนวด อาหารต่างๆ เครื่องเงิน นอกจากนี้ร้านยังมีสินค้าจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และมุมกาแฟ ทั้งนี้เพื่อให้ร้านภูฟ้าสามารถสนับสนุนชาวบ้าน เด็กและเยาวชนได้เพิ่มขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์แก่ร้านภูฟ้าเพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
    ศ.คุณหญิงสุชาดากล่าวด้วยว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นห่วงประชาชนที่อยู่ในศูนย์พักพิง ทรงมีพระราชดำริให้รวมกลุ่มกันผลิตสินค้าเพื่อคลายความทุกข์และสร้างรายได้เสริม โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ส่งวิทยากรมาฝึกอบรมแก่ผู้พักพิง โดยมีผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ ได้แก่ ตุ๊กตาการบูรหอม พวงกุญแจโครเชต์ ดอกไม้จันทน์ ไม้ถูพื้นจากเศษผ้า น้ำยาทำความสะอาด และน้ำยาล้างจาน ผลไม้แช่อิ่มต่างๆ โดยพระราชทานพระราชานุญาตให้ส่งมาจำหน่ายที่ร้านภูฟ้า
    ด้าน นางเกตุวลี นภาศัพท์ คณะกรรมการร้านภูฟ้า เปิดเผยว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยและห่วงใยประชาชนที่ประสบอุทกภัยตลอดเวลา ทรงคิดในรายละเอียด ทรงมีพระราชดำริให้ประชาชนได้ทำเรื่องง่ายๆ และนำไปใช้ได้จริง วันนี้ตรัสถึงเรื่องความสะอาดของบ้านประชาชนที่ประสบอุทกภัยว่า “คนต้องซ่อมบ้าน ต้องทำความสะอาดบ้าน” ทรงโปรดให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สอนผู้ประสบภัยทำไม้กวาด น้ำยาล้างพื้นด้วยตนเอง
    สำหรับผู้ที่อยากให้กำลังใจผู้ประสบภัย และช่วยให้มีรายได้เสริม แวะชมและอุดหนุน ผลิต ภัณฑ์ได้ที่ร้านภูฟ้า 4 สาขา ได้แก่ ร้านภูฟ้าผสม ผสาน ชั้น 4 สยามพารากอน ร้านภูฟ้าสาขาสยามดิสคัฟเวอรี่ ร้านภูฟ้าสาขาจัตุรัสจามจุรี และร้าน ภูฟ้าสาขาโรงพยาบาลรามาธิบดี รายได้จากการจำหน่ายมอบให้ผู้ประสบภัยที่ศูนย์พักพิงทั้งหมด ไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
    ด้านกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาคมภาพถ่ายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดนิทรรศการภาพถ่ายภายใต้หัวข้อ “น้ำ+ใจ 2554″ เพื่อรวบรวมภาพเหตุการณ์มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย
    นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า นิทรรศการครั้งนี้กระทรวงวัฒนธรรมได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ภาพวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งทรงถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เมื่อเวลา 15.52 น. วันที่ 14 ต.ค. 2554 เพื่อนำมาจัดแสดงในนิทรรศการ ที่ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 8 – 30 ธ.ค.
    และระหว่างวันที่ 11-15 ธ.ค. ที่อาคารศูนย์การท่องเที่ยวอยุธยา ศาลากลางหลังเก่า จ.พระ นครศรีอยุธยา และสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดในปี 2555 อีก 4 แห่ง รวมถึงนำภาพแสดงบนเว็บไซต์ www.bigcamera.co.th/ Water+Empathy2011 โดยสำนักหอจดหมาย เหตุแห่งชาติจะนำภาพดังกล่าวบันทึกเป็น “จดหมายเหตุประวัติศาสตร์” ของชาติต่อไป ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ทรงเปิดนิทรรศการในวันที่ 8 ธ.ค.นี้
    HAPPY NEW YEAR

    เพลงพรปีใหม่ เนื้อเพลงพรปีใหม่และฟังเพลงพรปีใหม่

    เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากอัลบั้ม เอช เอ็ม บลูส์ ส่งความสุขในเทศกาลปีใหม่



    เนื้อเพลง เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
    ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
    คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
    สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
    ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
    ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
    โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
    ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
    ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
    ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
    ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ
    เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
    เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13
    ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร
    และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์
    ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรง
    พระราชนิพนธ์เพลง “พรปีใหม่” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้อง
    เป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ
    วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง
    ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495

     

     
    วันเวลาผ่านไปไวยิ่งนัก

    วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

    วันรัฐธรรมนูญ

    ประวัติและความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญความหมาย

    รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ


    วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

    ความเป็นมา

    การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

    สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    ๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

    ๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

    ๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

    ๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

    จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

    วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
    ๑. พระมหากษัตริย์

    ๒. สภาผู้แทนราษฎร

    ๓. คณะกรรมการราษฎร

    ๔. ศาล

    ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

    กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ้

    รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

    


     

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก parliament.go.th
              วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี
     ความหมายของรัฐธรรมนูญ

              รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

              วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
     ประวัติความเป็นมา

              การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
     สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  

              
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย  

              
    หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  

              
    อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  

             
    รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

               จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

              วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ 

              
    พระมหากษัตริย์ 
               
              
    สภาผู้แทนราษฎร 
               
               
    คณะกรรมการราษฎร 
               
               
    ศาล

              ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้

     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ          รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้            1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)

              
    2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
     
              
    3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
      
              
    4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
      
              
    5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

              
    6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

              
    7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)

              
    8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

              
    9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
     
              
    10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

              
    11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
      
              
    12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
     
              
    13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
     
              
    14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
     
              
    15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
      
              
    16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
     
              
    17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
      
              
    18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน)




     วันรัฐธรรมนูญ

              สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

              กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

              ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้

              หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้

              รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ


     กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ           มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน             มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)

               รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
               โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอ           อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น           ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

               
    คำปรารภ
      
              
    หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
      
              
    หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
      
               
    หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
      
              
    หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
      
               
    หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
      
               
    หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
      
               
    หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
      
               
    หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
      
              
    หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
      
               
    หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
      
               
    หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
     
               
    หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)
      
               
    หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
      
               
    หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)

               
    หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
      
               
    บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)